วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ผลไม้ฤดูร้อน

ผลไม้ฤดูร้อน
แตงโม

          แตงโม แตงโมจะเย็นและอร่อยสำหรับวันร้อน เมล็ดแตงโมมีการรักษาที่ดีสำหรับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (ปัญหาไตและกระเพาะปัสสาวะ) เมล็ดสามารถ simmered ในน้ำ 30 นาทีเพื่อให้ชา พวกเขาเป็นยาระบายอ่อนโยนดี พวกเขาจะรับประทานสดและดีที่สุดของตนเองตามที่หมักอย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหาร

 แอปริค็อต

       แอปริค็อต สีหลากหลายของแอปริค็อตซื้อให้ไปเนื้อหาหลากหลายของพวกเขา beta แคโรทีน (สารตั้งต้นในการวิตามิน A) เบต้าแคโรทีนและวิตามินซีทั้งในแอปริค็อตเป็นสารต้านอนุมูลอิสระวิตามิน แอปริค็อตหวานอาทิตย์ยังเป็นแหล่งของเส้นใยและโพแทสเซียม
เชอร์รี่
เชอร์รี่ Sweet พันธุ์ดีสดและสามารถเพิ่มสลัดผักและสลัดผลไม้ พวกเขามีวิตามินซีและดีขับปัสสาวะ พวกเขาจะดีสำหรับอาการปวดข้อต่อ พวกเขาเป็นอย่างดีในการป้องกันมะเร็งเพราะมีกรด ellagic ที่ inhabits เซลล์ก่อมะเร็ง
มะม่วง
มะม่วง มะม่วงอวบน้ำที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนวิตามินซีและเส้นใย ในความเป็นจริงเพียงครึ่งมะม่วงมีเกิน 100% ของปริมาณรายวันที่แนะนำของวิตามิน A (เบต้าแคโรทีนเป็น) พวกเขามีมากกว่าความต้องการประจำวันของวิตามินซีและมีเกือบครึ่งวันของความต้องการวิตามินอีอีกทั้งยังมีโพแทสเซียมเหล็กและ Nicotinic Acid พวกเขาจะดีสำหรับปัญหาผิว, การพักฟื้นและการป้องกันโรคมะเร็ง
แอปเปิ้ล
แอปเปิ้ล สีแดง, สีเหลืองหรือสีเขียวหวานหรือทาร์ต, กรอบหรือเป็นผง, ไม่ว่าคุณจะ slice พวกแอปเปิ้ลสดฤดูร้อนเป็นแหล่งที่ดีของเส้นใย เพคตินในแอปเปิ้ลเป็นเส้นใยละลายซึ่งสามารถช่วยในการจัดการของคอเลสเตอรอลสูง และผิวหนังของแอปเปิ้ลมีสาร flavonoids และโพลีฟี phytochemicals ที่สามารถลดความเสียหายอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันโรค oxidativeเช่นมะเร็งและโรคหัวใจ
ราสเบอร์รี่
ราสเบอร์รี่ ราสามารถพบได้ทั่วโลกและพืชซึ่ง spring พวกเขาไปโดยชื่อต่างๆ เช่นผลเบอร์รี่ที่สุดพวกเขาจะสูงมากในสารเคมีที่ให้ร่างกายของคุณตกนอกเหนือจากระดับโมเลกุล และพวกเขาลิ้มรสดีเกินไป
มะละกอ
มะละกอ มะละกอเป็นอย่างต่อต้านไม่ได้รับประทานผลไม้ฤดูร้อน มะละกอเป็นอีกหนึ่งแหล่งอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนวิตามินซีและเส้นใยและมีโพแทสเซียมและโฟเลต
มะเดื่อ
มะเดื่อ ฤดูร้อนเป็นฤดูสำหรับมะเดื่อสด สดหรือแห้งมะเดื่อหวานเป็นหนึ่งในที่สุดแหล่งผลไม้เส้นใยและพวกเขายังมีปริมาณแร่ธาตุสำคัญของโพแทสเซียม (ที่ดีสำหรับการสูญเสีย replenishing ในเหงื่อ), แคลเซียมและธาตุเหล็ก
ลูกพลับ
พลัมและพีช พลัมและพีชจะสุกและพร้อมนี้เดือนอ่อนพีชหอมหวานมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีเป็นใย พลัมสีม่วงและสีแดงมีไฟเบอร์และวิตามินซีและผิวหนังมี anthocyanidins, phytochemicals สารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพ



สมุนไพร

ชื่ออื่น : หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ลาหนัง(ปัตตานี)มะนอแน่มะแน่(เหนือ)หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)มะออจ้ามะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ)เตียบ(เขมร)
ชื่อสามัญ : Sugar Apple, Sweetsop, Custard Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa Linn.
ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • น้อยหน่า เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นก้านเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตมากนักผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร
  • ใบน้อยหน่า ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายและโคนใบจะแหลม ใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้วยาว 3-6 นิ้ว สีเขียว ก้านใบยาว 0.5 นิ้ว
  • ดอกน้อยหน่า ออกดอกเดี่ยว ๆ อยู่ตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะห้อยลงมีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสีเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เกสรกลาง ดอกมีจำนวนมากมาย
  • ผลน้อยหน่า ออกเป็นลูกกลม ๆ ป้อม ๆ โตประมาณ 3-4 นิ้ว มีผิวขรุขระ เป็นช่องกลมนูน ซึ่งในแต่ละช่องนั้นภายในจะเป็นเนื้อสีขาวและมีเมล็ดสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน เปลือกผลสีเขียว แต่ถ้าสุกตรงขอบช่องนูนนั้นจะออกสีขาวและบีบดูจะนุ่ม ๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด หรือ เนื้อในเมล็ดสด

สรรพคุณน้อยหน่า :

  • ใบสดและเมล็ดน้อย หน่าสามารถใช้ฆ่าเหา และ โรคกลากเกลื้อน โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
    ❐ นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที
    ❐ นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้ และ แก้ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม
  • ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
  • เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
  • ผล ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู



ส้นพร้าหอม



ชื่อท้องถิ่น : มอกพา, ชะเป, พอกี่(กระเหรี่ยง), เกี๋ยงใบพาย(เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium stoechadosmum Hance
ชื่อวงศ์ :  ASTERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • สันพร้าหอม เป็นพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่มีลำต้นตั้งตรง ตามลำต้นจะเป็นร่อง แต่ก็ค่อนข้างจะเกลี้ยงเล็กน้อย
  • ใบสันพร้าหอม เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะขอบใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบเกลี้ยง มีสีเขียว ขนาดของใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 7-11 ซม.
  • ดอกสันพร้าหอม ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ก้านช่อดอกจะมีขนปกคลุมหนาแน่น ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ดอกมีขนาดเล็กบานเต็มที่ประมาณ 7-8 มม.
  • ผลสันพร้าหอม เป็นสีดำ มีสันอยู่ 5 สัน ผลจะแห้งรูปขอบขนาดแคบ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก

สรรพคุณสันพร้าหอม : ทั้งต้น รสหอมสุขุม แก้ไข้ แก้ปวดหัว ตัวร้อน เป็นยาหอม ชูกำลัง กระตุ้นความกำหนัด ขับเหงื่อ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นราก รสหอมร้อน ต้มดื่ม แก้พิษ แก้ระดูมาไม่ปกติใบ รสเย็นจืด แก้ไข้พิษ บำรุงหัวใจ แก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้

ลางสาด

 ชื่ออื่น : รังสาด, รางสาด, ลังสาด, ลาซะ, ดูกู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonsium domesticum  Corr.
ชื่อวงศ์ : Meliaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ลางสาด เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กต้น สูงประมาณ 10-15 เมตร
  • ใบลางสาด ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยเป็นขนนก ออกสลับกัน
  • ดอกลางสาด ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งและลำต้น ออกเป็นช่อเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ดอกมีสีเหลืองนวล มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะอวบ และจะติดอยู่จนกระทั่งเป็นผล
  • ผลลางสาด ผลกลมรี เป็นผลสด ออกเป็นพวงแน่น เมื่ออ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลืองนวล ผิวเรียบ ฉ่ำน้ำ รสหวานเปรี้ยว มียางสีขาว เมล็ดกลมแบนรี สีน้ำตาล ในผลหนึ่งๆ จะมี 1-5 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกผล, เมล็ด, เปลือกต้น

สรรพคุณลางสาด :

  • เปลือกผล รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง เผาไฟไล่ยุง
  • เมล็ด รสขม ต้มดื่มแก้ไข้ ขับพยาธิ
  • เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้โรคกระเพาะ


กลอย

ชื่ออื่น : มันกลอย, กลอยข้าวเหนียว, กลอยหัวเหนียว(นครราชสีมา), กลอยนก(เหนือ), กลอยไข่(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dioscorea hispida Dennst.
ชื่อวงศ์ : Dioscoreaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกลอย เป็นไม้เถาล้มลุก ไม่มีมือเกาะ มีหัวใต้ดิน ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ลำต้นกลมมีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป และมีขนนุ่มๆ สีขาวปกคลุม มีรากเจริญเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน หัวใต้ดินส่วนมากกลมรี บางทีเป็นพู มีรากเล็กๆกระจายทั่วทั้งหัว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวมี 2 ชนิดคือ สีขาว (กลอยหัวเหนียว) และสีครีม (กลอยไข่ กลอยเหลือง)
  • ใบกลอย เป็นใบประกอบ เรียงตัวแบบเกลียว ผิวใบสากมือ มีขนปกคลุม มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางแผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-15 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบนูน ใบย่อย 2 ใบ แผ่นใบรูปไข่ รูปไข่กลับ ขนาดสั้นกว่าใบกลางแต่กว้างกว่า ปลายแหลม โคนกลม เส้นใบออกจากจุดเดียวกัน ก้านใบยาว 10-15 เซนติเมตร
  • ดอกกลอย เป็นช่อแบบแยกแขนง แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก จำนวน 30-50 ดอกสีเขียว ออกตามซอกใบ ห้อยลง ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแยกแขนง 2-3 ชั้น ดอกตั้งขึ้น ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร เกสรเพศผู้จำนวน 6 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อชั้นเดียว ดอกชี้ลงดิน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง
  • ผลกลอย แก่แตกได้ มีสีน้ำผึ้ง มีครีบ 3 ครีบ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร แต่ละครีบมี 1 เมล็ด ผิวเกลี้ยง เมล็ดกลมแบน มีปีกบางใสรอบเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัวใต้ดิน, ราก

สรรพคุณกลอย :
หัวใต้ดิน แก้เถาดาน (อาการแข็งเป็นลำในท้อง) หุงเป็นน้ำมันใส่แผล กัดฝ้า กัดหนองหัว ตากแห้ง ปรุงเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ปวดตามข้อ ฝีมะม่วง โรคซิฟิลิส
ราก บดผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใบยาสูบ ใบลำโพงหรือพริก ใช้ทาหรือพอกฆ่าหนอนในแผลสัตว์เลี้ยง

ยาสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน



ชื่อท้องถิ่น       หอมเทียม (เหนือ), กระเทียม หัวเทียม (ภาคใต้), กระเทียมขาว (อุดรธานี),หอมขาว(อุดรธานี), กระเทียม (กลาง), ปะเซวา (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช  พืชล้มลุก  มีลำต้นใต้ดิน  เรียกว่า  หัว  หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ         ติดกันแน่น  เนื้อสีขาว  มีกลิ่นฉุนเฉพาะ  บางครั้งในหนึ่งหัวมีกลีบเดียว  เรียก  กระเทียมโทน       หัวค่อนข้างกลม  ใบยาวแบน  ปลายแหลม  ภายในกลวง  ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายช่อ  ดอกสีขาวอมเขียม  หรือชมพูอมม่วง  ผลมีขนาดเล็ก
ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา   เก็บในช่วงที่หัวแก่  อายุ  100  วันขึ้นไป
รสและสรรพยาคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน  เป็นยาขับลมในลำไส้  แก้กลากเกลื้อน  แก้ไอ     ขับเสมหะ  ช่วยย่อยอาหาร
วิธีใช้   กระเทียมใชเป็นยารักษาอาการดังนี้
1.อาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  และแน่นจุกเสียด  ใช้กลีบปอกเปลือก รับประทานดิบๆ  ครั้งละประมาณ  5 – 7  (หนัก  5  กรัม)  หลังอาหารหรือเวลามีอาการ
2. อาการกลาก  เกลื้อน  ฝานกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูกบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นโดยใช้ไม้เล็กๆ  ขูดบริเวณที่เป็น  พอให้ผิวแดงๆ  ก่อน  แล้วจึงเอากระเทียมทาบ่อยๆ  หรือวันละ  2  ครั้ง  เช้า – เย็น


กระวาน

ชื่อท้องถิ่น       กระวานโพธิสัตว์ , กระวานจันทร์ (กลาง) ,กระวานดำ , กระวานแดง ,  กระวานขาว (กลาง ,  ตะวันออก)
ลักษณะของพืช
ปลูกโดยการแยกหน่อ  ขึ้นในดินแทบทุกชนิด  เจริญได้ดีที่ชุ่มชื้นและเย็น  โดยเฉพาะใต้ร่มเงาไม้ใหญ่  ยังพบได้ในป่าที่มีความชื้นสูงทางภาคใต้ของประเทศไทย  เวลาปลูกจะแยกหน่อออกจากต้นแม่  ถ้ามีลำต้นติดมาให้ตัดเหลือประมาณ  1  คืบ  เพื่อลดการสูญเสียน้ำ นำหน่อไปชำในที่ชุ่มชื้น  หรือจะนำลงปลูกเลยก็ได้  ดูแลความชื้นให้สม่ำเสมอ
กระวานเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสนใจเพราะกระวานเป็นได้ทั้งเครื่องเทศและสมุนไพร  ลูกกระวานทำรายได้ให้กับประเทศในปี  พ.ศ.  2527  ส่งออกประมาณ  22.1  ตัน  (มูลค่า  7  ล้านบาท)  ส่งไปขายประเทศอังกฤษ  จีนและญี่ปุ่น  แหล่งปลูกอยู่จังหวัดยะลาและจันทบุรี
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่
ช่วงเวลาที่เก็บยา    ตั้งแต่เริ่มปลูกจนมีอายุ  4 – 5  ปี  จึงจะเริ่มเก็บผลได้  ผลแก้เก็บในช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนมีนาคม
รสและสรรพคุณยาไทย   รสเผ็ดร้อน  กลิ่นหอม  เป็นยาขับลมและเสมหะ
วิธีใช้   1. ผลกระวานแก้อาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  และแน่นจุกเสียด  โดยเอาผลแก่จัดตากแห้งและบดเป็นผงรับประทานครั้งละ  1  ช้อนครึ่ง  –  3  ช้อนชา (หนัก  1  –  2  กรัม)  ชงกับน้ำอุ่น
2.ผลกระวานยังใช้ผสมกับยาถ่าย เช่น มะขามแขก เพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อท้องถิ่น       กระเจี๊ยบ , กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง) , ผักเก็งเค้ง , ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) , ส้มตะเลงเคลง (ตาก) , ส้มปู (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืชกระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก  สูงราว  3 – 6  ศอก  ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง  ใบมีหลายแบบขอบใบเรียบ  บางครั้งมีหยักเว้า  3  หยัก  ดอกสีชมพู  ตรงกลางจะมีสีเข้มกว่าส่วนนอกของกลีบ  เมื่อกลีบดอกร่วงโรยไป  กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้น  มีสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดไว้ภายใน
ส่วนที่ใช้เป็นยา  กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกช่วงเวลาที่เก็บยา  ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา  4 – 4  เดือนครึ่งรสและสรรพคุณยาไทย  กลีบรองดอก  กลับเลี้ยงและใบ  มีรสเปรี้ยว  ใช้เป็นยากัดเสมหะ



วิธีใช้   ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา  โดยนำเอากลีบเลี้ยง  หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง  ตากแห้งและบดเป็นผง  ใช้ครั้งละ  1  ช้อนชา (หนัก  3  กรัม) ชงกับน้ำเดือด  1  ถ้วย (250  มิลลิลิตร)  ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส  ดื่มวันละ  3  ครั้ง  ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป
 กานพลู
 ชื่อท้องถิ่น       จันจี่ (ภาคเหนือ)
ลักษณะของพืช  กานพลูเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบหนาเป็นมัน ถ้าเอาใบส่องแดดดู       จะเห็นจุดน้ำมันอยู่ทั่วไปออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก  ดอกสีแดงอมชมพู
ส่วนที่ใช้เป็นยา  ดอกกานพลูแห้งที่ยังมิได้สกัดเอาน้ำมันออก  และมีกลิ่นหอมจัด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา   เก็บดอกตูมช่วงที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง  ช่วงเดือนมิถุนายน                                                               จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
รสและสรรพคุณยาไทย  รสเผ็ดร้อน  กลิ่นหอม  ช่วยขับลม
วิธีใช้   1. ดอกแห้งของกานพลูรักษาอาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  และแน่นจุกเสียด โดยใช้ดอกแห้ง  
5 – 8  ดอก (0.12 – 0.6 กรัม)  ต้มน้ำดื่ม  หรือบดเป็นผง  ชงเป็นน้ำชาดื่ม
2.ดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้  โดนใช้ดอกแห้ง    1 – 3  ดอกแช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน    
เทียนบ้าน
ชื่อท้องถิ่น       เทียนดอก , เทียนไทย , เทียนสวน(ภาคกลาง)
ลักษณะของพืช  เทียนบ้านเป็นพืชล้มลุก  ลำต้นอวบน้ำและมีขนเล็กน้อย ใบเรียวแหลม  ขอบใบเป็นหยักละเอียดดอกมีทั้งเดี่ยวและเป็นดอกรวม  2 – 3  ดอก มีหลายสี ผลรูปรี  มีเมล็ดกลมอยู่ใน  แก่แล้วแตกได้เอง
ส่วนที่ใช้เป็นยา   ใบสา  ดอกสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา   เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์
รสและสรรพคุณยาไทย   ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว  ตำพอกเล็บขบ  และปวดตามนิ้วมือ  หรือนิ้วเท้าถอนพิษปวดแสบ  ปวดร้อน
วิธีใช้   ใช้ใบสดและดอกสดประมาณ  1  กำมือ  ตำละเอียดและพอก  ทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพองวันละ  3  ครั้ง (สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน  จึงควรระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายส่วนอื่นๆ)

ดีปลี

ชื่อท้องถิ่น       ดีปลีเผือก (ภาคใต้) , ประดงข้อ , ปานนุ (ภาคกลาง)
ลักษณะของพืช  ดีปลีไม้เลื้อย  ใบรูปไข่  โคนนมปลายแหลม  เป็นใบเดี่ยว  คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่าและบางกว่าเล็กน้อย  ดอกไม้เป็นรูปทรงกระลอกปลายมน  เมื่อแก่กลายเป็นผลสีแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา  ผลแก่แห้ง (หมอยารียก ดอกดีปลี)
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา   ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก  ตากแดดให้แห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย   รสเผ็ดร้อนขม  บำรุงธาตุ  ขับลม  แก้จุกเสียด
วิธีใช้   ผลแก่แห้งของดีปลี  ใช้เป็นยารักษาอาการ  ดังนี้
1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ  และปวดท้อง  และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติโดยใช้ผลแก่แห้ง  1  กำมือ (ประมาณ  10 – 15  ดอก)  ต้มเอาน้ำดื่ม  ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้
2. อาการไอ และขับเสมหะ  ใช้ผลแก่แห้ง  ประมาณครึ่งผล  ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือกวาดคอ  หรือจิบบ่อยๆ

 ผักบุ้งทะเล
 ชื่อท้องถิ่น       ละบูเลาห์ (มลายู – นราธิวาส)
ลักษณะของพืช  ผักบุ้งทะเลไม้เลื้อย  ลำต้นทอดตามดินได้ยาวมาก  ใบรูปหัวใจปลายเว้าเข้าหากัน  เนื้อใบหนาและกรอบน้ำ  หักง่าย  ดอกเหมือนดอกผักบุ้ง  ผลเล็กและกลม
ส่วนที่ใช้เป็นยา  ใบและเถาสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา   เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย  ถอนพิษลมเพลมพัด (อาการบวมเปลี่ยนที่เป็นตามอวัยวะ  ทั่วไป)  ทำเป็นยาต้มอาบแก้คันตามผิวหนัง  มีการบันทึกว่า  ยางมีพิษ  รับประทานแล้วเมา  คลื่นไส้วิงเวียน
วิธีใช้   การใช้ผักบุ้งทะเลรักษาอาการแพ้  อักเสบ  แมลงสัตว์กัดต่อย (โดยเฉพาะพิษของแมงกะพรุน)  ทำได้โดยเอาใบและเถา  1  กำมือ  ล้างให้สะอาด  ตำให้ละเอียด  คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่บวมแดงบ่อยๆ
อ้างอิง
https://www.samunpri.com/







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สายพันธุ์สัตว์ต่างๆ

พันธุ์ลิงที่มีอยู่ในประเทศไทย ( ไม่นับรวมชะนี ค่าง และลิงลม นะครับ ) มี 5 ชนิด   ได้แก่ 1. ลิงกัง ชื่อไทย           ลิงกัง ช...