วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สายพันธุ์สัตว์ต่างๆ

พันธุ์ลิงที่มีอยู่ในประเทศไทย
(ไม่นับรวมชะนี ค่าง และลิงลม นะครับ ) มี 5ชนิด ได้แก่

1. ลิงกัง
ชื่อไทย           ลิงกัง
ชื่อวิทยาศาสตร์      Macaca nemestrina
ชั้น              Mammalia
อันดับ           Primates
วงศ์             Cercopithecidae
วงศ์ย่อย          Cercopithecinae
สกุล             Macaca 
ในธรรมชาติ ลิงกังมีอายุขัยประมาณ 26 ปี ในแหล่งเพาะเลี้ยงเคยพบลิงกังที่อยู่ได้ถึงเกือบ 35 ปี

· ศัตรูตามธรรมชาติของลิงกัง
คือเสือและงู แต่ศัตรูตัวร้ายที่สุดก็หนีไม่พ้นคน ลิงกังจำนวนมากถูกล่าเพื่อเอาเป็นอาหาร ทำยาจีน และเพื่อการแพทย์ ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพไว้ว่าเสี่ยงสูญพันธุ์ ไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

· ลักษณะของลิงกัง 
ลิงกังมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา บริเวณท้องสีขาว ขนบริเวณกระหม่อมสีดำหรือน้ำตาลเข้ม หางสั้นประมาณ 13-24 เซนติเมตรและมีขนสั้น ขายาว  ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า 
ความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 49-56 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 6.2-14.5 กิโลกรัม 
ส่วนตัวเมียความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 46-56 หนักประมาณ 4.7-10.9 กิโลกรัม 
ตัวผู้จะมีเขี้ยวแหลมยาวประมาณ 12 มม. ส่วนตัวเมียก็มีเขี้ยวแต่สั้นกว่ามากเพียง 7.3 มม.

ลักษณะนิลัย

ลิงกังจัดเป็นลิงที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ส่งเสียงมากนัก นอกจากเวลาต่อสู้กันเท่านั้น นอกจากการสื่อสารด้วยเสียงแล้ว ลิงกังยังมีภาษาท่าทางและสื่อสารผ่านสีหน้าได้ด้วย

ถิ่นที่อยู่อาศัย
ลิงกังอาศัยอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในหลายประเทศ ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางใต้ของจีน อินโดนีเซีย (บอร์เนียว กาลิมันตัน สุมาตรา) ตะวันออกของบังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย (แผ่นดินใหญ่) พบในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนสูงถึง 2,000 เมตร อาศัยในป่าทึบ ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนและป่าบึง

ลักษณะการอยู่อาศัยของลิงกัง
ฝูงลิงกังประกอบด้วยตัวผู้หลายตัวและตัวเมียหลายตัว สมาชิกตัวเมียเป็นกลุ่มครอบครัวเดียวกัน ฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 15-40 ตัว เป็นตัวผู้ราว 5-6 ตัว แต่ละตัวเป็นตัวผู้ที่แยกออกมาจากฝูงที่ตัวเองเกิด เมื่อมีตัวผู้ตัวใหม่เข้ามาสู่ฝูง จะมีลำดับชั้นต่ำสุด หลังจากนั้นจึงค่อยต่อสู้เพื่อเลื่อนอันดับตัวเองให้สูงขึ้น ส่วนตัวเมียก็มีลำดับชั้นเช่นกัน ตัวเมียที่อันดับสูงสุดมักมีหลายตัวและเป็นพี่น้องกันที่รักใคร่ปรองดองกัน แม้กลุ่มตัวเมียจะมีอำนาจด้อยกว่าตัวผู้ แต่ก็รวมตัวกันเหนียวแน่นกว่าและอาจร่วมกัน   ต่อสู้กับตัวผู้ที่อันดับต่ำในการแย่งชิงอาหารได้
การหากิน
ลิงกังหากินเวลากลางวัน หากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ พื้นที่หากินกว้าง ตั้งแต่ 0.6-8.28 ตารางกิโลเมตร และมักย้ายพื้นที่หากินอยู่เสมอ เดินทางวันละประมาณ 800-3,000 เมตร พื้นที่ของแต่ละฝูงมักซ้อนเหลื่อมกัน แต่ลิงกังแต่ละฝูงก็ไม่ค่อยจะมีเรื่องวิวาทในเรื่องเขตแดนมากนัก
อาหารหลักคือผลไม้ นอกจากผลไม้ยังมีแมลง เมล็ดพืช ใบไม้ เห็ด นก ตัวอ่อนปลวก ปู เป็นต้น ขณะออกหากินจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 2-6 ตัว บ่อยครั้งที่เข้ามาเก็บกินผลไม้ในสวนของเกษตรกร
การผสมพันธุ์
ลิงกังผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม
 ตัวเมียมีคาบการติดสัดประมาณ 30-35 วัน ตั้งท้องนาน 162-182 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกลิงแรกเกิดมีสีดำ เมื่อพ้นสามเดือนสีขนจึงค่อยจางลงเป็นสีน้ำตาลอ่อน แม่ลิงจะเลี้ยงลูกเป็นเวลา 8-12 เดือน 
ตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 4.5 ปี ส่วนตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ปี เมื่อตัวเมียติดสัด 
ต่อมแก้มก้นและอวัยวะเพศจะบวมแดงอย่างเห็นได้ชัดเจน และ ลิงกังเปลี่ยนคู่ได้หลายครั้งตลอดอายุขัย
อันตรายที่เกิดขึ้นกับลูกลิง
คือ ในช่วงที่ลูกอายุเกิน 5 สัปดาห์ไปแล้ว ลูกลิงจะเริ่มซุกซนและอยากรู้อยากสำรวจโลกรอบด้าน ซึ่งอาจทำให้ต้องห่างจากอกแม่ หากแม่ลิงเป็นลิงที่มีลำดับชั้นต่ำ 
ช่วงนี้ลูกลิงอาจถูกลิงที่มีอันดับสูงกว่าแย่งไปได้ และหากแม่ลิงแย่งกลับมาไม่ได้ ลูกลิงก็มักต้องอดตาย
2. ลิงเสน
ชื่อไทย                 ลิงเสน
ชื่อวิทยาศาสตร์   Macaca arctoides
อันดับ               Primates 
วงศ์                      Cercopithecidae
· ลักษณะของลิงเสน
บางครั้งเรียกว่า ลิงหมี เป็นลิงที่มีลำตัวยาว หลังสั้น ขนยาวสีน้ำตาล หน้ากลม หางสั้น ลูกอ่อนมีสีขาวและสีจะเข้ม เมื่อมีอายุมากขึ้น ใบหน้าเป็นสีชมพู หรือแดงเข้ม มีขนเล็กน้อย 
ลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีน้ำหนัก 9.7-10.2 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนัก 7.5-9.1 กิโลกรัม ลิงเสนตัวผู้จะมีเขี้ยวยาวและอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม มีถุงเก็บอาหารใต้คาง หางสั้นมากจนดูเหมือนกับไม่มีหาง ก้นแดง และมีกลิ่นตัวที่เหม็นเขียว
·ถิ่นอาศัย และอาหาร
มีการแพร่กระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้าง 
โดยพบตั้งแต่ประเทศอินเดีย , พม่า , ไทย ,คาบสมุทรมลายูเกาะสุมาตรา , เกาะบอร์เนียว
เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ ,ลาว, กัมพูชา 
และเวียดนาม ทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 10 ชนิด 
มักพบอาศัยตามป่าริมลำน้ำและชายฝั่งทะเลทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ 
และป่าริมล้าน้้าทางภาคตะวันตก ทั้งป่าสมบูรณ์และป่ารุ่น นอกจากนี้ยังพบชุกชุมในป่าชายเลนและบนภูเขาหินปูนกินอาหารจ้าพวกผลไม้, เมล็ดพืช และแมลงขนาดเล็ก เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้าง
แก้มแล้วค่อย ๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย
พฤติกรรม และการขยายพันธุ์
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตอนกลางวัน เป็นลิงที่หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ชอบอยู่ป่าทึบมากกว่าป่าโปร่ง และพบทั้งป่าสูงและป่าต่ำ เวลาตกใจวิ่งจะขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว ลิงเสนเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 146 วัน 
ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืนกว่า 20 ปี
3.ลิงวอก
ชื่อไทย                 ลิงวอก
ชื่อสามัญ                Rhesus Macaque
ชื่อวิทยาศาสตร์    Macaca mulatta
อันดับ                  Primates
วงศ์                    Cercopithecidae
ลิงวอกในประเทศไทยของเรานั้นปัจจุบันนั้นมีเหลืออยู่น้อยมากนะครับ  ในปัจจุบันนั้นลิงวอกก็จัด
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
ลักษณะของลิงวอก
เป็นลิงที่มีร่างกายอ้วนสั้น บริเวณหลัง หัวไหล่ และตะโพกมีสีน้ำตาลปนเทา ส่วนบริเวณใต้ท้องและสีข้างมีสีอ่อนกว่า หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ขนหางค่อนข้างยาวและฟู 
มีการผลัดขนประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี โดยจะเริ่มที่บริเวณปากก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มผลัดขนที่หลัง ตัวเมียอาจมีขนสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่หัวของลิงวอกจะชี้ตรงไปด้านหลังลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 47-58.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-6 กิโลกรัม ความยาวหาง 20.5-28 เซนติเมตร 
พฤติกรรมและการสืบพันธุ์
    พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป สมาชิกส่วนใหญ่ในฝูงประกอบไปด้วยลิงตัวเมียและลูก ๆ ตัวเมียในฝูงจะมีบาทบาทสำคัญมากกว่าตัวผู้ แต่ลิงตัวผู้จะมีบทบาทในการปกป้องฝูงลิงวอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี 
ระยะตั้งท้องนาน 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลิงตัวเมียจะอยู่กับฝูงไปจนตาย 
แต่ตัวผู้เมื่อโตขึ้น มักจะถูกขับไล่ให้ออกจากฝูง จากการศึกษาพบว่า ลิงวอกมีความสัมพันธ์กับชุมชนมนุษย์มาเป็นเวลานาน แต่การที่ลิงวอกมักเข้ามาอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม 
จึงทำให้ไม่กลัวคน ในบางครั้งจึงถูกจับฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหารและฆ่าเพื่อลดความรำคาญ

ถิ่นที่อยู่อาศัย
มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ อัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของอินเดียเนปาลพม่า, ภาคใต้ของจีนลาวเวียดนาม และภาคตะวันตกของไทย โดยในประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่า เหลืออยู่เพียงฝูงสุดท้ายแล้วที่ วัดถ้ำผาหมากฮ่อ ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
อาหาร
ลิงวอกกินผัก ผลไม้ ใบไม้อ่อน แมลงต่างๆ รวมทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร
4. ลิงไอ้เงี้ยะ

ชื่อวิทยาศาสตร์    Macaca assamensis 
สำหรับลิงชนิดนี้นะครับมีลักษระคล้ายกับลิงวอกมากนะครับเลยเรียกกันว่าลิงวอกภูเขานะครับ
ในปัจจุบันนะครับลิงไอเงี้ยนั้นยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะคล้ายลิงวอกแต่ขนข้างใบหน้า เป็นลิงร่างใหญ่ บึกบึน หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 51-63 เซนติเมตร รูปร่างทั่วไปคล้ายลิงวอก ขนสีน้ำตาลอมเหลือง หน้าอก ท้อง ท้องแขนและขาสีขาว ก้นและหางสีเทา หัวโต ใบหน้ายื่นมากกว่าลิงขนสั้นชนิดอื่น ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าชี้ไปทางข้างหลัง ขนกลางกระหม่อมแสกกลาง หางค่อนข้างสั้น ประมาณ 20-38 เซนติเมตร 
อุปนิสัยและอาหาร

มักพบตามภูเขา และที่สูงตั้งแต่ 500 ถึง 3,500 เมตร อาศัยอยู่บนเรือนยอดไม้สูงประมาณ10 -50 เมตร จากพื้นดิน สมาชิกในฝูงมีประมาณ 10 - 50 ตัว โดยจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่เฝ้ายามบนต้นไม้สูงที่สุดในบริเวณ เมื่อมีอันตรายจะส่งเสียงร้องเตือนพร้อมกับเคลื่อนไหวเพื่อเตรียม
หลบหนี ร้องเสียงดัง "ปิ้ว" หากินตอนกลางวัน อาศัยกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีตัวผู้และตัวเมียเพศละหลายตัว รวมกันอาจมากถึง 50 ตัว ชอบหากินบนต้นไม้ และมักอยู่ที่ระดับความสูงเกิน 10 เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับหากินของลิงกังและลิงแสม กินผลไม้ ใบไม้ โดยเฉพาะใบอ่อน และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร

ถิ่นที่อยู่อาศัย
พบในเนปาล สิกขิม ภูฐาน อัสสัม ยูนาน พม่า และอินโดจีนตอนเหนือ สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากที่จังหวัดลำปาง 
พฤติกรรม - การขยายพันธุ์
ป็นลิงที่มีนิสัยดุร้าย กระดิกหางได้เหมือนสุนัข ชอบอาศัยอยู่บนภูเขา ลิงวอกภูเขาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว  
5.ลิงแสม

ชื่อไทย             ลิงแสม
ชื่อสามัญ          Crab-eating macaque
ชื่อวิทศาสตร์   Macaca fascicularis Raffles, 1821

ลิงแสมนะครับส่วนใหญ่นั้นจะพบบริเวณป่าชายเลนะครับ แต่ที่คนไทยเราคุ้นเคยกับลิงชนิดนี้ก็คงไม่พ้นที่นี้แน่นอนครับ นั้นก็คือ  ศาลพระกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ ลิงแสมเป็นสัตว์ที่ฝึกได้และสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว ถ้านำมาฝึกตั้งแต่ยังเล็ก
ลักษณะ
ลิงแสมมีหางยาวใกล้เคียงกับความยาวจากหัวถึงลำตัว ขนมี 2 สี คือ สีเทาน้ำตาลและสีแดง 
โดยสีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ฤดูกาล และถิ่นที่อยู่อาศัย ลิงแสมในป่าจะมีสีเข้มกว่าลิงแสมที่อยู่บริเวณป่าชายเลย ซึ่งมีเกลือในอากาศและสัมผัสกับแสงแดดมากกว่า ลิงชนิดนี้มีหางกลม ขนบริเวณหัวสั้นตั้งชี้ไปด้านหลัง ลิงอายุน้อยหัวจะมีขนเป็นหงอน และจะยืดยาวออกเมื่อมีอายุมากขึ้น           
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ประเทศไทย อินโดนีเซีย พม่า มลายู เกาะสุมาตรา เกาะซูลอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้แทบทุกภูมิประเทศ ทั้งในป่าชายเลนใกล้ทะเล โดยลิงฝูงที่อาศัยในที่นี่จะว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร  บางครั้งก็พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นและพื้นที่สูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่เกษตรกรรมด้วยซึ่งมันมักจะทำลายผลิตผลทางการเกษตร ลิงแสมพยายามจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในพื้นที่บริเวณขอบนอกขอป่า 
มากกว่าอยู่ในป่าลึก และสามารถปรับตัวในเข้ากับมนุษย์ได้ในบางโอกาส 
ดั่งที่มักพบเห็นทั่วไปตามเมืองใหญ่ อาทิ ศาลพรกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 
หรือ ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นต้น ซึ่งมักจะอยู่เป็นฝูงใหญ่ 
อาจมีสมาชิกในฝูงได้ถึง 200 ตัว โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ราว 3-4 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว 
ลูกที่มีอายุน้อยจะเกาะติดแม่เสมอ
อาหาร
หากินสัตว์ทะเลขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น กุ้งปู หรือ หอย


พันธุ์เป็ด
เป็ดพม่า หรือ เป็ดรัดดี 
อังกฤษRuddy shelduck
ชื่อวิทยาศาสตร์Tadorna ferruginea
เป็นนกอพยพชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Anatidae พบตามแม่น้ำสายใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง นาเกลือ ตามชายทะเล และบึง แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปแอฟริกา และเอเชีย ลำตัวมีขนาดใหญ่ ยาว 61-67 เซนติเมตร คล้ายห่าน ขนมีสีน้ำตาลแกมแดงหรือส้มเป็นหลัก ตัวผู้มีสร้อยรอบคอสีดำ ตัวเมียมีใบหน้านวลมากกว่า แต่ตัวเล็กกว่าตัวผู้
มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้ง  อาจถึงพันตัว ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็กทั่วไป
ในประเทศไทย

เป็ดพม่าอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ มีรายงานการพบ

และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
อ้างอิง

เป็ดหงส์
เป็ดหงส์ (อังกฤษ: Knob-billed duck, Comb duck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sarkidiornis melanotos) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sarkidiornis [2]
จัดว่าเป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำแถบบนปีกสีบรอนซ์สะดุดตา ตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ แถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบนขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวสีทึมกว่า และไม่มีแถบสีดำสองแถบบนส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกอ่อนที่อายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ
มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ตั้งแต่ ปากีสถานอินเดียศรีลังกาบังกลาเทศ ไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นอัสสัมพม่า ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้อีกด้วย[3]
มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ ชอบที่จะเกาะคอนไม้สูง ๆ อาศัยเป็นที่หลับนอน อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำเมล็ดข้าวแมลงน้ำ และอาจกินสัตว์น้ำอย่างกบเขียด และปลาได้ด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของนกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง
ในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หาได้ยากมาก และใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

เป็ดหางแหลม


ทุกๆเดือนมกราคม ประเทศต่างๆในทวีปเอเชียจะมีกิจกรรมนับนกน้ำกลางฤดูหนาว (Mid-winter Asian Waterbird Census) ที่มีชื่อย่อว่า AWC โดยปีนี้สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) กำหนดไว้ให้อาสาสมัครทั่วประเทศนับนกน้ำในจุดสำรวจที่กำหนดไว้ในช่วงวันที่ 20-31 ม.ค.
นกน้ำส่วนใหญ่ในเมืองไทยอพยพหนีหนาวจากทางเหนือ วิถีชีวิตของมนุษย์มักมีการพึ่งพิงแหล่งน้ำซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของนกเหล่านี้โดยตรง และพื้นที่ชุ่มน้ำโดยมากก็ไม่ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ โครงการอนุรักษ์ของนกเหล่านี้จึงต้องอาศัยการร่วมมือจากหลายภาคส่วนในทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง สาเหตุที่ต้องนับกันในเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงที่นกทุกชนิดล้วนอยู่ในถิ่นอาศัยช่วงฤดูหนาว (wintering grounds) นกน้ำบางกลุ่ม เช่น นกเป็ดน้ำ (waterfowls) อพยพมาอยู่เพียงแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น เป็ดที่อพยพมาอาศัยในประเทศไทยช่วงฤดูหนาวมากที่สุดได้แก่ เป็ดหางแหลม (Northern Pintail) และเป็ดลาย (Garganey)
ทั้งสองชนิดล้วนเป็นเป็ดหากินตามผิวน้ำ (dabbling ducks) เป็ดกลุ่มนี้เองที่เรามักพบเป็นจำนวนมากที่สุด ชนิดอื่นๆที่พบได้ในเมืองไทยก็มักพบหากินปะปนในฝูงเป็ดสองชนิดดังกล่าว โดยเฉพาะเป็ดหางแหลม ซึ่งจัดว่ามีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ ใกล้เคียงกับขนาดตัวชนิดอื่นๆมากกว่าเป็ดลาย มักพบรวมฝูงลอยน้ำหากินตะไคร่และพืชน้ำในทะเลสาบขนาดใหญ่ แต่บางครั้งก็กินสัตว์น้ำเล็กเป็นอาหาร คอที่ยาวช่วยให้มันสามารถหาอาหารที่อยู่ลึกกว่าเป็ดอื่นๆได้ด้วย ขณะบินเป็นฝูงมันก็มักเรียงแถวกันเป็นระเบียบ

อ้างอิง 
http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2013/01/28/entry-1

จระเข้


จระเข้แคระ (อังกฤษDwarf crocodileชื่อวิทยาศาสตร์Osteolaemus tetraspis) เป็นจระเข้ที่พบในทวีปแอฟริกา และเป็นชนิดของจระเข้ที่เล็กที่สุดในโลก ปัจจุบันจากการสุ่มตัวอย่างตรวจพบถึงการระบุประชากรที่แตกต่างกันสามกลุ่มพันธุกรรม ซึ่งการค้นพบนี้อาจยกชนิดย่อยขึ้นเป็นชนิด



ลักษณะ

จระเข้แคระเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.5 เมตร (5 ฟุต) ยาวสุดเท่าที่มีการบันทึกไว้คือ 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) จระเข้โตเต็มวัยมีสีดำ ท้องเหลืองมีแต้มสีดำ จระเข้วัยอ่อนมีขีดสีน้ำตาลอ่อนบนลำตัวและหาง และลวดลายสีเหลืองบนหัว
เนื่องจากมีขนาดเล็กจึงมีความเสี่ยงในการล่า จระเข้ชนิดนี้จึงมีเกล็ดเป็นเกราะหนาบริเวณคอ หลัง และหาง และยังมีผิวหนังแข็งเป็นเกล็ด ที่ท้องและใต้ลำคอ
จระเข้แคระมีจมูกทื่อสั้น กว้าง คล้ายกับเคแมนแคระคูเวียร์ อาจเป็นเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ชุดฟันประกอบด้วยฟันส่วนหน้าของกระดูกขากรรไกรบน 4 ซี่ ฟัน 12 ถึง 13 ซี่บนขากรรไกรบน และฟัน 14 ถึง 15 ซี่บนกระดูกเดนทารี (Dentary)
O.t. tetraspis มีสีสว่างกว่า มีจุดมากกว่า จมูกไม่เชิดขึ้น และมีเกราะลำตัวมากกว่า O.t. osborni

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
จระเข้แคระมีการกระจายพันธุ์ในที่ลุ่มเขตร้อนของพื้นกึ่งซาฮารา ของแอฟริกาตะวันตกทางภาคตะวันตกของแอฟริกากลาง ซึ่งมีการกระจายพันธุ์ได้ซ้อนทับกับจระเข้ปากแหลมทางตะวันตกไกลถึงประเทศเซเนกัล ทางตะวันออกไกลถึงสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางใต้ถึงประเทศแองโกลา ชนิดย่อย O. t. tetraspis ส่วนมากพบในทางตะวันตกของแหล่งการกระจายพันธุ์ ขณะที่ O. t. osborni พบในป่าฝนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเท่านั้น
จระเข้แคระอาศัยอยู่ในบ่อน้ำตามหนองบึง และพบตามแม่น้ำในป่าฝนบ้างเล็กน้อย มีบึนทึกว่าพบที่บ่อน้ำในทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมันจะขุดโพรงเพื่ออาศัยระหว่างฤดูแล้ง


อ้างอิง

จระเข้แม่น้ำไนล์
จระเข้แม่น้ำไนล์ (อังกฤษNile crocodileชื่อวิทยาศาสตร์Crocodylus niloticus) เป็นจระเข้ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่
จระเข้แม่น้ำไนล์ เป็นจระเข้ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองมาจากจระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 3-5 เมตร แต่ตัวที่ยิ่งมีอายุมากจะยาวได้มากกว่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวได้ตั้งแต่ 2.4-4 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 225-500 กิโลกรัม แต่ตัวผู้ที่ใหญ่อาจหนักได้ถึง 750 กิโลกรัม มีรายงานพบตัวที่ยาวที่สุดในแทนซาเนียมีความยาว 6.47 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,090 กิโลกรัม
จระเข้แม่น้ำไนล์ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืดทั่วทวีปแอฟริกา แม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำที่ตื้นและมีโคลนขุ่นก็ตาม มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นสัตว์ที่ล่าปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เป็นอาหาร เช่น ม้าลายกาเซลล์แอนทิโลปต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สัตว์เหล่านี้อพยพข้ามแม่น้ำ จระเข้แม่น้ำไนล์จะมารอดักซุ่มและโจมตีโดยเฉพาะตัวที่เล็กและอ่อนแอกว่า หรือแม้แต่ซุ่มดักรอใต้น้ำจนกระทั่งสัตว์เหล่านี้มากินน้ำริมตลิ่ง ก็จะโผล่ตัวมางับลากลงไปกดเหยื่อให้จมน้ำตายก่อนแล้วค่อยกิน รวมถึงมีพฤติกรรมกินพวกเดียวกันเองด้วย [4]
จระเข้แม่น้ำไนล์ สามารถซุ่มอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำได้นานถึง 2 ชั่วโมงครึ่งก่อนจะขึ้นมาหายใจ ในตัวที่โตเต็มที่สามารถอดอาหารได้นานถึง 10 เดือนโดยไม่กินอะไรได้ และตัวเมียสามารถเก็บพักน้ำเชื้อจากการผสมพันธุ์ของตัวผู้ไว้ในตัวได้เป็นเวลาค่อนข้างนาน ในธรรมชาติ จระเข้แม่น้ำไนล์มีถิ่นอาศัยถิ่นเดียวกับฮิปโปโปเตมัส ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่และมีอันตรายเช่นกัน แม้ทั้งสองชนิดอาจมีการปะทะกันบ้าง แต่โดยทั่วไปก็จะแบ่งพื้นที่อาศัยกันเป็นอย่างดี
นอกจากนี้แล้ว จระเข้แม่น้ำไนล์ยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดชนิดหนึ่งของทวีปแอฟริกา ทุกปีจะมีผู้ถูกจระเข้ทำร้ายและสังหารเสียชีวิตปีหนึ่งคิดเป็นจำนวนหลักร้อยหรืออาจจะถึงหลักพัน โดยชาวอียิปต์โบราณจะนับถือจระเข้แม่น้ำไนล์เป็นทูตของเทพเจ้า และมีการทำมัมมี่ให้แก่จระเข้ตัวที่ตายไปแล้วด้วย โดยเศียรของโซเบก หรือเซเบก ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่เป็นผู้ให้กำเนิดแม่น้ำไนล์ ก็เป็นรูปจระเข้แม่น้ำไนล์ เชื่อกันว่าแม่น้ำไนล์กำเนิดมาจากเขาทั้งสองข้างของโซเบก กระนั้นในปัจจุบัน จระเข้แม่น้ำไนล์ก็ยังถูกล่าเพื่อนำหนังไปใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนคาดว่าจำนวนที่เหลือในธรรมชาติน่าจะมีราว 250,000-500,000 ตัว
กุสตาฟ ซึ่งเป็นจระเข้ที่ได้ชื่อว่าสังหารและกินมนุษย์ไปแล้วกว่า 300 คน มีขนาดความยาวกว่า 20 ฟุต อายุมากกว่า 60 ปี อาศัยอยู่ในตอนเหนือของบูรุนดีก็เป็นจระเข้แม่น้ำไนล์ด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน จระเข้ที่พบในทวีปแอฟริกา ในอดีตที่เคยเชื่อกันว่ามีแค่ชนิดเดียว คือ จระเข้แม่น้ำไนล์ ได้ถูกศึกษาทางดีเอ็นเอแล้วพบว่ามี 2 ชนิด โดยชนิดที่ถูกแยกออกมานั้น คือ Crocodylus suchus ซึ่งเดิมเคยเป็นชนิดย่อยของจระเข้แม่น้ำไนล์ ซึ่งจระเข้ชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่า อีกทั้งยังมียังมีความแตกต่างกันทางสรีระภายนอก เช่น ลักษณะหัวกะโหลก หรือการเรียงตัวของเกล็ด เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีการกระจายพันธุ์ที่แตกต่างออกไปอีกด้วย กล่าว คือ จระเข้แม่น้ำไนล์มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ทางด้านภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกามากกว่า ซึ่งจระเข้ชนิดใหม่นี้เป็นชนิดที่ชาวอียิปต์โบราณนิยมนำไปทำมัมมี่มากกว่า













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สายพันธุ์สัตว์ต่างๆ

พันธุ์ลิงที่มีอยู่ในประเทศไทย ( ไม่นับรวมชะนี ค่าง และลิงลม นะครับ ) มี 5 ชนิด   ได้แก่ 1. ลิงกัง ชื่อไทย           ลิงกัง ช...